วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮิโรชิมา มหาระเบิดปรมาณูสะท้านโลก


เรื่องราวของการใช้อาวุธทำลายล้างมวลชนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป้าหมายคือจักรวรรดิญี่ปุ่น วันที่6สิงหาคม ค.ศ.1945ระเบิดที่ไม่เหมือนลูกไหนๆ ได้หล่นลงมาจากท้องฟ้าเหนือเมืองฮิโรชิมา ระเบิดลูกนี้ได้รับการออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดของโลกและการนำมันมาใช้คือการตัดสินใจทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เรื่องราวของลูกเรือบนเครื่องบินที่ปฏิบัติภารกิจลับในการทิ้งระเบิดที่ทำให้เมืองฮิโรชิมาทั้งเมืองต้องพังพินาศภายในไม่กี่วินาที ระเบิดลูกนั้นช่วยยุติสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นจุดเริ่มต้นบทใหม่ของประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ
               ย้อนหลังไปเมื่อวันที่14กรกฎาคม ค.ศ.1945ที่ศูนย์วิจัยลับสุดยอดในลอส-อลามอส รัฐนิวเม็กซิโก ระเบิดชนิดใหม่ถูกนำไปใส่ในรถบรรทุกติดอาวุธเต็มอัตราศึก นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางซึ่งจะไปสิ้นสุดลงที่ฮิโรชิมา ระเบิดลูกนี้เป็นผลผลิตจากการวิจัยเป็นเวลาสามปี และใช้เงินในการพัฒนาไปถึงสองพันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังไม่เคยมีการทดสอบเลยแม้แต่ครั้งเดียว
               16กรกฎาคม ค.ศ.1945ที่อลามากอร์โด รัฐนิวเม็กซิโก
               การทดสอบก็มาถึง กลางทะเลทรายของรัฐนิวเม็กซิโก บรรดานักวิทยาศาสตร์และทหารในโครงการแมนฮัตตันได้มารวมตัวกันเพื่อทดสอบการระเบิดของระเบิดปรมาณูเป็นครั้งแรก การระเบิดครั้งนี้ทำให้หอคอยสเตนเลสสตีลที่รองรับลูกระเบิดถึงกับระเหยกลายเป็นไอ ความร้อนอันแรงกล้าทำให้ทรายในทะเลทรายหลอมละลาย กลายเป็นแก้วปกคลุมไปทั่วบริเวณ
               แรงระเบิดประมาณได้ว่ารุนแรงเท่าระเบิดไดนาไมต์67ล้านแท่ง เดิมทีอเมริกาตั้งใจจะใช้ระเบิดนี้กับนาซีเยอรมัน แต่เวลานี้ผู้ทำระเบิดมีเป้าหมายอื่นอยู่ในใจ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1945สงครามในยุโรปสิ้นสุดลงแล้ว นาซีเยอรมันพ่ายแพ้ไปแล้ว แต่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก สงครามกับญี่ปุ่นยังคงดำเนินไปอย่างดุเดือด
               หลังจากการโจมตีแบบไม่ทันให้ตั้งตัวที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองกำลังอเมริกาก็ได้ต่อสู้ฟันฝ่าเพื่อชิงดินแดนในแถบแปซิฟิกคืนทีละเกาะๆ แต่ทัพหลักของญี่ปุ่นยังคงไม่บุบสลายและไม่เคยแพ้ อเมริกาเคยลองใช้ระเบิดเพลิงเพื่อทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ เมืองแล้วเมืองเล่ากลายเป็นซากปรักหักพัง แต่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ยังไม่ยอมจำนน
               ดังนั้น เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงมีแนวโน้มที่จะต้องบุกอย่างเต็มอัตรา โดยที่บางคนประมาณการว่าพวกเขาอาจต้องเผชิญกับความสูญเสียมากมาย ทหารอาจบาดเจ็บล้มตายถึงหนึ่งล้านนาย และฝ่ายญี่ปุ่นก็ต้องสูญเสียมากกว่านั้นเยอะ
               ญี่ปุ่นสมัยนั้น จักรพรรดิคือประมุขของประเทศ และยังเป็นเทพที่มีชีวิต แต่อำนาจอยู่ที่คณะที่ปรึกษาพิเศษซึ่งกำกับกิจการสงคราม นายกรัฐมนตรีซูซูกิและรัฐมนตรีต่างประเทศโทโกกำลังพิจารณาว่าจะยุติสงครามตามที่มีการเจรจาต่อรอง แต่รัฐมนตรีกองทัพ นายพลโคเรชิกะ อานามิ ยังมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อไป แผนของอานามิคือการสู้รบขั้นแตกหักเต็มอัตราศึก
               อเมริกาได้ถอดรหัสลับของญี่ปุ่น จึงทราบดีว่า การเรียกร้องให้ยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีเงื่อนไขจะถูกฝ่ายญี่ปุ่นมองว่าเป็นการคุกคามองค์จักรพรรดิ ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และเสนอทางออกแก่ฝ่ายญี่ปุ่น
               วันที่26กรกฎาคม ค.ศ.1945
               คำขาดที่ผ่านการแก้ไขแล้วได้ถูกส่งไปยังญี่ปุ่นทางคลื่นวิทยุ แต่ดูเหมือนเงื่อนไขการยอมจำนนที่อ่อนลงนี้จะก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม นายกรัฐมนตรีซูซูกิประกาศว่ารัฐบาลของเขาจะไม่สนใจแถลงการพ็อทสแดม เขาใช้คำว่า"โมกุซัทสึ" ซึ่งแปลว่าการฆ่าโดยไม่แยแส และนับจากวินาทีนั้น การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
               ระเบิดเดินทางจากซานฟรานซิสโกโดยเรือ ยูเอสเอส อินเดียนาโปลิส ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเวลาสิบวัน จนไปถึงเกาะทิเนียน จากจุดนั้นจะใช้เวลาบินไปถึงญี่ปุ่นเพียงหกชั่วโมงเท่านั้น
               เกาะทิเนียน คือฐานทัพอากาศใหญ่ที่สุดในโลก มีรันเวย์ขนาดใหญ่4รันเวย์ เป็นที่เก็บเครื่องบิน บี-29ซูเปอร์ฟอร์ทเตรส กว่า500ลำ และยังเป็นที่มั่นของหน่วยผสมที่509กลุ่มคนที่จะทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ญี่ปุ่น หัวหน้าหน่วยแห่งนี้คือ นาวาเอกพอล ทิบเบ็ตส์ ซึ่งมีประสบการณ์โชกโชนในการทิ้งระเบิดต่อสู้กับเยอรมัน เขามีลูกเรือคนสำคัญสองคนคือพลเล็งเป้า ทอม เฟอเรอบี และต้นหน ดัทช์ ฟาน เคิร์ค
               เย็นวันที่4สิงหาคม1945พอล ทิบเบ็ตส์เรียกคนของเขามาประชุมกัน ภารกิจการทิ้งระเบิดถูกกำหนดไว้สำหรับคืนต่อไป วันที่เมฆเหนือประเทศญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะปลอดโปร่ง แต่เช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นบรรดาลูกเรือบนเกาะทิเนียนต้องตื่นขึ้นมาเพราะเสียงดังสนั่น เครื่องบินบี-29ตกที่รันเวย์อีกครั้ง เครื่องบินตกครั้งนี้ทำให้ พอล ทิบเบ็ตส์ ในฐานะผู้บัญชาการ ตัดสินใจที่จะขับเครื่องบินโจมตีลำนี้เอง และเขาเลือกชื่อของเครื่องบินตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา
               คืนนั้น ในช่วงนาทีสุดท้ายก่อนออกเดินทาง มีการสรุปภารกิจให้ลูกเรือทุกคนที่กำลังจะมุ่งหน้าไปฮิโรชิมาฟังเป็นครั้งสุดท้าย ภารกิจนี้เป็นความลับมาก ทิบเบ็ตส์ได้รับยาเม็ดฆ่าตัวตายไว้ใช้ในกรณีที่พวกเขาถูกฝ่ายญี่ปุ่นจับได้ เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ได้รับคำสั่งให้บันทึกภารกิจประวัติศาสตร์ครั้งนี้
               ระเบิดลูกนี้หนักกว่าสี่ตัน ทำให้การทะยานขึ้นมีอันตรายมากกว่าปกติ หลังจากทะยานขึ้นไป15นาที ขณะที่เครื่องบินยังอยู่ในระดับต่ำ พาร์สันส์ก็พร้อมแล้วที่จะประกอบระเบิด พวกเขารู้ว่าความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจทำให้ภารกิจทั้งหมดล้มเหลวได้ สองชั่วโมงต่อมา เครื่องบิน อีโนล่า เกย์ สมทบกับเครื่องบินบันทึกภาพและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เวลานี้เครื่องบินทั้งหมดอยู่ห่างจากฮิโรชิมาราวสามชั่วโมง

               6สิงหาคม ค.ศ.1945เมืองฮิโรชิมา
               เครื่องบินบี29อีกลำหนึ่งได้บินอยู่เหนือเมืองฮิโรชิมาเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศ ทำให้ประชาชนตื่นกลัวและหลบอยู่ในที่กำบัง เครื่องบินตรวจสอบสภาพอากาศรายงานผลไปยัง อีโนล่า เกย์ และเมื่อเครื่องบินตรวจสอบอากาศบินเลยไปโดยไม่มีการโจมตี ช่วงนั้นดูเหมือนภัยคุกคามจะผ่านไปแล้ว
               แต่ต่อมาไม่นานเครื่องบิน อีโนล่า เกย์ ก็บินอยู่เหนือน่านฟ้าฮิโรชิมา ระเบิดลูกประวัติศาสตร์ถูกปล่อยออกมา หลังจากหล่นลงมา43วินาที กลไกที่ทำงานตามเวลาและแรงดันอากาศก็เริ่มกระบวนการจุดระเบิด กระสุนยูเรเนียมถูกยิงไปตามลำกล้องเข้าใส่ยูเรเนียมที่เป็นเป้าหมาย ยูเรเนียมทั้งสองเริ่มทำปฏิกิริยาลูกโซ่ อณูของแข็งเริ่มแตกตัวและปล่อยพลังงานออกมาในปริมาณมหาศาล
               ระเบิดปล่อยอานุภาพทำลายล้างออกมาทีละขั้น ประกายไฟที่ออกมาจากลูกไฟยักษ์ที่กว้างถึง300เมตร ทำให้อุณหภูมิที่อยู่ด้านล่างลูกไฟนั้นสูงถึง4,000องศาเซลเซียส รังสีความร้อนหลอมละลายทุกอย่างที่อยู่ในที่โล่งถ้าไม่ระเหยกลายเป็นไอ ก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปในทันที ปฏิบัติการของทหารอเมริกันครั้งนั้นคร่าชีวิตคนไปราว200,000คน และเป็นการยุติสงครามโดยสิ้นเชิง
               วันที่6สิงหาคม ของทุกปี ที่เมืองฮิโรชิมาจะมีพิธีรำลึกสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ถูกลืมและไม่เกิดขึ้นซ้ำสอง และเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เทียนนับพันๆ เล่มจะถูกจุดขึ้น และปล่อยให้ลอยไปตามสายน้ำ เทียนแต่ละเล่มแทนดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจากระเบิดปรมาณูลูกนี้


ที่มา:http://writer.dek-d.com/writer/story/viewlongc.php?id=219485&chapter=42

ตำนานแห่งสงครามครูเสด


ประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนาน ด้วยสาเหตุทางศาสนา ที่นำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ ก็คือ สงครามครูเสด (THE CRUSADES) อันยิ่งใหญ่และยาวนาน
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือ กันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล โดยชนชาติซาราเซ็น ที่ปกครองปาเลสไตน์อยู่นั้นก็ยินดีต้อนรับ เพราะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก นักแสวงบุญเหล่านั้น หากทว่าตั้งแต่ ค.ศ. 1076 เป็นต้นมา พวกเติร์กมุสลิมได้เข้ามาเป็นใหญ่เหนือดินแดน ศักดิ์สิทธิ์นี้ และได้ปล้นฆ่านักจาริกแสวงบุญ อย่างเหี้ยมโหดรวมทั้งทำลายโบสถ์ ของชาวคริสต์เกือบหมดสิ้น



Peter the Hermit : นักบุญปีเตอร์
ในช่วงนี้มีพระคริสเตียนรูปหนึ่งนามว่า ปีเตอร์ เป็นชาวฝรั่งเศส ซึ่งชอบใช้ ชีวิตสันโดษ ได้จาริกไปยังนครเยรูซาเลม โดยที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ ปอนๆ และพำนักอาศัยอยู่ใน ถ้ำตามภูเขา ทำให้ผู้คนมีความชื่นชมศรัทธาและขนานนามให้ว่า ปีเตอร์มหาฤาษี (Peter the Hermit) 
เมื่อสาธุคุณปีเตอร์ ได้เห็นชนมุสลิม กระทำทารุณกรรมต่อชาวคริสต์ จึงคิดอ่านที่จะแก้ไข ด้วยการทำศึก ชิงเอาดินแดนแห่งพระไครสท์คืนมา ท่านจึงเดินทางกลับยุโรป และทูลถึงแผนการนี้แด่ท่าน สังฆนายกเออร์บันที่ 2 (Urban II) ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนและ ให้ดำเนินการได้

เมื่อประชาชนชาวยุโรป ได้รับรู้ถึงความ โหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นกับ นักจาริกแสวงบุญจากการ ป่าวร้องของนักบุญปีเตอร์ ต่างก็โกรธแค้นและหลั่งไหลกันมาฝรั่งเศสจากทั่วยุโรป เพื่อสมัครไปรบแย่งชิง นครเยรูซาเลมคืนมา โดยสังฆนายกเออร์บันได้กำหนดให้ทุกคนที่ไปรบ ติดเครื่องหมายกางเขนไว้ที่ตัว กองทัพนี้จึงได้ชื่อว่า ครูเสด (Crusade) คือมาจากคำว่า (Cross) ที่หมายถึงไม้กางเขนนั่นเอง


สังฆนายกเออร์บันที่ 2 (Urban II)

สังฆนายกเออร์บันที่ 2 นำทัพครูเสดในช่วงแรก


ไม่มีใครคิดว่าสงครามครั้งนี้จะยืดเยื้อยาวนานเกือบ 200 ปี!

โดยสงครามครูเสดครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1096-1099 ชาวยุโรปที่กระหายจะไปรบ ได้รวมพลกันมากถึง 250,000 คน แต่ทว่าส่วนใหญ่เป็นชนชั้นต่ำ มีทั้งผู้หญิงและเด็กตามไปด้วย อาวุธก็ตามแต่จะหาได้ จึงเป็นเพียงกองกำลังมหึมาที่ปราศจาก อานุภาพ ภายใต้การนำของปีเตอร์มหาฤาษี ขาดทั้งวินัยและเสบียง ต้องหากินด้วยการปล้น ในระหว่างทางล้มตายไปก็มาก จึงถูกพวกเติร์กโจมตีแตกพ่ายอย่างง่ายดาย 
ต่อมาใน ค.ศ. 1096 จึงได้มีการรวบรวม อาสาสมัครขึ้นใหม่ 600,000 คน และมีนักรบที่แท้จริงกว่าในหนแรก ประกอบด้วยอัศวินและ ทหารภายใต้การควบคุมของ เจ้าผู้ครองนครต่างๆในยุโรป จัดเป็นทหารชั้นดีมีอุปกรณ์ เพียบพร้อม ทั้งเสื้อเกราะ หมวกเหล็ก โล่ และอาวุธต่างๆ ครบครันเป็นทหารม้าสวมเกราะถึง 100,000 คน


อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีนายหลายคนและ ปราศจาก แม่ทัพใหญ่ผู้มีอำนาจบัญชาการ สูงสุด จึงไม่มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันดั่งที่กองทัพพึงมี จึงจัดเป็นจุดอ่อนของทัพนี้

สมรภูมแห่งเมืองอันติอ๊อก (Antioch)
ในช่วงแรกทัพครูเสดมีชัยตีได้เมืองต่างๆ ตามทาง จนกระทั่งได้ อันติอ๊อก (Antioch) เมืองหลวงของซีเรีย แต่ก็สูญเสียกำลังพลไปมาก เหลือม้าศึกเพียงแค่ 2,000 ตัวเท่านั้น ครั้นแล้วจึงมุ่งตรงไปยังนครเยรูซาเลม ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ในการครอบครองของอียิปต์ ทัพครูเสดตีเยรูซาเลมได้ในเดือนกรกฎาคมปี 1099 จับมุสลิมและยิวฆ่าเสียราว 70,000 คน จากนั้นพวกครูเสดจึงตั้ง กอดเฟรย์แห่ง บุยอินยอง ผู้นำทัพเบลเยียม ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปกครองเยรูซาเลม ส่วนเหล่านักรบครูเสดก็แยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน

หลังจากสงบมาได้หลายสิบปี ก็ได้มีพวกเติร์กใหม่ซึ่งเข้มแข็ง ยกกำลังเข้ามารุกรานคุกคาม ดินแดนศักดิ์สิทธิ์นี้อีก ชาวคริสต์ในเยรูซาเลมจึงขอความพิทักษ์ภัยไปยังยุโรป และก็สามารถระดมกำลังพลได้ถึง 300,000 คน แต่ก็อีกนั่นแหละ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นพวกไร้ฝีมือทัพครูเสดภายใต้ การนำของกษัตริย์ คอนราดที่ 3 แห่ง เยอรมัน กับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส ที่ยกไปในช่วงปี ค.ศ. 1148 จึงถูกทัพมุสลิมตีแตกพ่ายไปตั้งแต่ยังไม่ทันถึงนครเยรูซาเลม

พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์
สงครามครูเสดครั้งต่อมา จัดเป็นการศึกที่ยิ่งใหญ่และมีตำนานต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยทางฝ่ายคริสเตียน มีนายทัพชั้นดีหลายคน อาทิ พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the lion hearted) แห่งอังกฤษ กษัตริย์ ฟิลลิป ออกัสตัส แห่งฝรั่งเศส พระเจ้า เฟร เดอริก บาร์บารอสซา แห่งเยอรมัน
ทางฝ่ายมุสลิมก็มีขุนทัพ ซาลาดิน (Sarla din) ผู้ เกรียงไกรของเติร์ก ซึ่งสามารถรวบรวมรัฐทั้งหลายของชนเผ่า ซาราเซนให้เป็นอาณาจักรเดียวกันได้สำเร็จ และสุดท้ายก็ตีได้นครเยรูซาเลม ในปี ค.ศ. 1187 อันเป็นสาเหตุให้ฝ่ายคริสต์ต้องยกขบวนครูเสดมาแย่งคืนนั่นเอง


ทัพครูเสดจากอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน มารวมพลกันที่เมืองเอเคอร์ติดชายแดนซีเรีย ในปี ค.ศ. 1189 หลังจากสู้รบกับทัพที่สุลต่านซาลาดินส่งมาอยู่นานถึง 23 เดือน ก็ตีได้เมือง เอเคอร์ในที่สุด และจับชาวมุสลิมกระทำทารุณ อย่างเหี้ยมโหด แล้วสังหารทิ้งถึง 25,000 คน ด้วยแค้นที่ รบต้านทานทรหดทำให้ต้องสูญเสียทหารคริสเตียนไปมากมาย

แม้ริชาร์ดใจสิงห์ จะทรงพลังเข้มแข็ง แต่ไม่สู้ลงรอยกับ ผู้นำของชาติอื่นๆ ทำให้เกิดความขัดแย้งกันตลอดเวลา ตรงกันข้ามกษัตริย์ริชาร์ดกลับมีความสัมพันธ์ฉันสหายกับ สุลต่านซาลาดิน ซึ่งเป็นคู่ปรับตัวฉกาจ ทั้งสองต่างยอมรับนับถือในฝีมือของกันและกัน รวมทั้งได้ มีการเจรจาออมชอมพักรบกันเป็นครั้งคราว โดยที่ทั้งสอง ต่างก็รักษาสัจจะวาจาอย่างเคร่งครัด
สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่ง ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง นักรบฝ่ายคริสเตียนกับนักรบมุสลิม โดยนักรบจากยุโรปมักมีร่างกายใหญ่โตบึกบึน แต่งกายออกศึกในชุดหุ้มเกราะอันหนักอึ้ง แม้กระทั่งม้าศึกก็มีเกราะหุ้มกำบัง อาวุธที่ใช้ก็เป็น ดาบและโล่ที่มีน้ำหนัก ส่วนทางฝ่ายมุสลิมจะมีรูปร่างเล็กกว่า สวมเสื้อหนังและใช้ดาบซาระเซนรูปโค้งดั่งเคียวและ คมกริบ นักรบมุสลิมจะรบอย่างคล่องแคล่วปราดเปรียว ในขณะที่นักรบครูเสดอุ้ยอ้ายเทอะทะ แต่มีอาวุธที่หนักหน่วงกว่า และมีอุปกรณ์ป้องกันตนเหนือกว่า 


มีข้อดีและข้อด้อยที่ไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก จึงเป็นการรบที่น่าดูอย่างยิ่ง

ท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1192 สหายศึกทั้งสองคือริชาร์ดใจสิงห์ กับซาลาดิน ก็กินกันไม่ลง และได้ทำสัญญาสงบศึกต่อกัน แต่ หลังจากสัญญาสิ้นสุดลงก็ได้มีสงครามครูเสดเล็กๆ น้อยๆเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง


สงครามครูเสดครั้งสุดท้าย เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1229 โดยการนำทัพของ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเยอรมัน ซึ่งในระหว่างนั้นเหล่ามุสลิมกำลังเกิดความขัดแย้งระส่ำระสาย กองทัพคริสเตียนจึงได้ชัยชนะ และยึดเอาเมืองต่างๆ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ไว้ได้ รวมทั้งเยรูซาเลม หลังจากปกครองอยู่ 10 ปี พวกอียิปต์ก็กลับเข้ามาตีเมืองเยรูซาเลมคืนในปี ค.ศ. 1244 และขับ ไล่นักรบครูเสดออกไปทีละเมืองจนหมดใน เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1291

และเป็นการยุติสงครามครูเสดอันยาวนานถึง 1,200 ปี โดยสิ้นเชิง 
เรื่องราวของครูเสดได้เกิดเป็นตำนาน มากมาย อาทิ เรื่องของอัศวิน เทมพลา (The Knights Templar) ซึ่งเป็นนักรบผู้กล้าหาญ แต่หลังจากเสร็จสิ้นสงครามก็ถูกกล่าวหา ว่าปล้น หรือยักยอกสมบัติที่ยึดครองจากข้าศึก หรือตำนานความสัมพันธ์อันซับซ้อน ระหว่างริชาร์ด ใจสิงห์กับสุลต่านซาลาดินดัง มีอยู่ในนิยายเรื่อง THE TALISMAN ของ เซอร์ วอลเตอร์ สก็อตต์ หรือแม้กระทั่งเรื่องของขุนศึกครูเสดใจเพชร ในภาพยนตร์ THE KINGDOM OF HEAVEN ที่โด่งดัง





ปริศนาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ



โศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตเด็กและ ราษฎรรัสเซีย หลายร้อยคนไป เมื่อเร็วๆนี้ ได้เคยเกิดขึ้นมา ครั้งหนึ่งแล้วครับ เมื่อร้อยกว่าปีมานี่เอง และเกิดขึ้นในวันมหามงคลด้วยคือ ระหว่างเฉลิมฉลอง พิธีราชาภิเษก ของกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์ โรมานอฟ มีคนตายนับพัน
ราชวงศ์โรมานอฟ (Romanov dynasty) ได้ปกครองรัสเซียเป็นเวลานานถึง 300 ปี มีจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรหลายองค์ เช่น ปีเตอร์มหาราช คันทรีมหาราชินี แต่แล้วพอถึง ค.ศ. 1918 ราชวงศ์โรมานอฟ ก็ต้องประสบกับโศกนาฏกรรมร้ายแรง ปิดฉากราชวงศ์ที่เคยยิ่งใหญ่ลง
ความหายนะที่เกิดขึ้นนี้ ว่ากันว่า ส่วนหนึ่งมาจากคำสาปแช่งของ บุรุษที่มีพลังอำนาจจิตสูงส่ง นาม รัสปูติน (Rasputin)!
ปี ค.ศ. 1896 นิโคลาส และอเล็กซานดรา ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นซาร์และซาริน่าปกครองอาณาจักร อันไพศาลของรัสเซีย พิธีราชาภิเษกนั้นยิ่งใหญ่ กึกก้องกัมปนาทด้วยเสียงปืนใหญ่ ขบวนแห่สู่ พระราชวังเครมลิน ประกอบด้วยเหล่าทหารองครักษ์ นับพัน มีการดื่มเฉลิมฉลองกันทั่วทั้งเมือง ผู้คนแก่งแย่งเบียร์และขนมปังที่นำมาแจกกันอย่างชุลมุน กลายเป็นจลาจล ราษฎรทั้งชายหญิงและเด็กโดนเหยียบตายไปกว่าพันคน!
นับเป็นการเริ่มต้นรัชกาลใหม่ ที่น่าสยดสยองยิ่ง และหลอกหลอนความรู้สึก ของสมาชิกราชวงศ์ ทุกพระองค์ตลอดเวลา
สิ่งปรารถนาอันใหญ่หลวง ของพระเจ้าซาร์นั้นก็คือ เจ้าชายรัชทายาท ผู้จะเป็นประมุของค์ต่อไปของรัสเซีย แต่แล้วก็ทรงกลับไปได้แต่พระราชธิดาถึง 4 พระองค์ นับตั้งแต่ โอลก้า ทาเทียน่า มาเรีย และ อนาสตาเซีย
ซาร์และซาริน่าทรงไม่ละความพยายาม ทั้งสองพระองค์สวดอ้อนวอน ขอพรต่อเทพเจ้าให้ประทานพระโอรส และท้ายที่สุดก็สมพระทัย ในวันที่ 5 สิงหาคม 1904 พระองค์ก็ได้เจ้าชายรัชทายาท อเล็กไซ นิโคลาวิช โรมานอฟ
หากทว่า นิโคลาสกับอเล็กซานดราก็ต้องทรงระทมทุกข์อีกครั้ง เมื่อพบว่าเจ้าชายน้อยอเล็กไซ มีพลานามัยไม่สมบูรณ์ ทรงประชวรด้วยโรคร้าย ฮีโมฟีเลีย ถ้าเป็นแผล โลหิตจะไหลไม่หยุด จนถึงอาจสิ้นพระชนม์ได้ และโรคนี้ไม่มีวิธีรักษา!
เรื่องนี้ ซาร์ทรงปิดเป็นความลับแก่โลกภายนอก ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามาเยือนในพระราชวัง ยกเว้นผู้สนิทสนมใกล้ชิด เพียงไม่กี่คน
ระหว่างนั้น ทั้งพระองค์และ พระราชินี ก็ทรงเสาะแสวงหา หมอเก่งๆ มารักษาพระราชบุตร ด้วยเหตุ ทั้งสององค์ทรงฝักใฝ่ ในศาสนา ตลอดจนมนตร์วิชา ลี้ลับต่างๆ การเสาะหานี้จึงได้นำมาสู่ ความหายนะ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
หนึ่งในผู้ที่ทรงเชื้อเชิญ ให้มารักษา เป็น บุรุษลึกลับกลับจากป่าในไซบีเรีย นาม เกรกอรี่ รัสปูติน ตอนที่อเล็กซานดรานำ เขาผู้นี้มาในวัง อเล็กไซ เจ้าชายน้อยกำลังบรรทม เจ็บปวดรวดร้าว จากอาการเลือดตกในใกล้สิ้นพระชนม์
รัสปูตินสามารถช่วยชีวิตอเล็กไซไว้ได้!
ปริศนาที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้คือ เขารักษาอาการขององค์รัชทายาทได้อย่างไร?
บางคนมั่นใจว่า เขาใช้วิธีสะกดจิต
บางคนแย้งว่า เป็นเพราะเหตุบังเอิญ
แต่จะอธิบายเหตุบังเอิญได้อย่างใด ในเมื่อการรักษาเยียวยานั้นเป็นไป อย่างได้ผลตลอดระยะเวลายาวนานถึง 12 ปี เรียกว่า ถ้าเจ้าชายน้อยมีแผลครั้งใด รัสปูตินก็สามารถช่วยไว้ได้ทุกครั้ง
ซาริน่าทรงเชื่อมั่นว่ารัสปูตินได้รับ พลังอำนาจพิเศษจากเทพเจ้า พระนางจึงทรงเชิญให้เขาเข้ามา พำนักอยู่ในพระราชฐานชั้นใน เพื่อดูแลถวายการรักษาอเล็กไซอย่างใกล้ชิด
และนี่เองที่ทำให้รัสปูตินได้มีโอกาส คลุกคลีกับสาวสรรพ์กำนัลในแห่งพระราชวัง จนกลายเป็นข่าวลืออื้อฉาวถึงสัมพันธ์สวาทที่เขามีต่อเหล่านางข้าหลวง ตลอดจนเจ้าหญิง และแม้กระทั่งซารีน่าอเล็กซานดราก็มิได้เว้น!
ยิ่งไปกว่านั้น รัสเซียได้เข้าร่วม ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1914 พระเจ้าซาร์ทรงเห็นความสำคัญ ของศึกครั้งนี้ จึงทรงออก ร่วมในการบัญชาการ เป็นเหตุให้ต้องเหินห่างพระ ราชวัง เปิดโอกาสให้รัสปูตินได้กระทำการบัดสีต่างๆ ได้ตามอำเภอใจ
หนักขึ้น ด้วยในขณะนั้น เขาเป็นที่โปรดปรานของ ซาริน่าอย่างยิ่ง อีกทั้งพลังสายตาอันแข็งกล้าของเขา ก็ยังสยบผู้คนให้ตกอยู่ใต้ อำนาจได้อีกด้วย
นับเป็นก้าวย่างที่ราชวงศ์โรมานอฟ ถึงจุดเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า
“พระราชินีทรงคิดว่า พระเจ้าได้สื่อสารกับ พระราชวงศ์โดยผ่านทางรัสปูติน เมื่อเขาพูดถึงสิ่งใด พระนางก็จะทรง ปฏิบัติตามโดยไม่รอช้า ดังนั้น เมื่อรัสปูตินแนะนำให้ตั้ง ใครดำรงตำแหน่งสูงๆ หรือขับไล่ผู้หนึ่งผู้ใดให้พ้นไปเสียจากวัง พระนางก็จะทรงทำตา มคำแนะนำของเขาทันทีเขา จึงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในพระราชวัง”
ความเหิมเกริมของรัสปูตินทำให้เชื้อพระ วงศ์และข้าราชบริพารกลุ่มหนึ่งไม่อาจทนต่อไปได้ โดยเฉพาะเจ้าชาย ยูสโซปอฟ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ผู้มั่งคั่งที่สุดองค์หนึ่ง เจ้าชายจึงทรงวางแผนกับผู้ใกล้ชิด ลวงรัสปูตินให้มาเยือนวังของพระองค์ใน นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แล้วล่อให้เขาลงไปยังห้องใต้ดิน จากนั้น ก็ให้รัสปูตินดื่มไวน์ชั้นเยี่ยมที่ทรงเก็บไว้ และกินแป้งราดครีมอันโอชะ หากทว่าทั้งอาหารและไวน์นี้ได้เจือปนไซยาไนด์ เพียบ ขนาดฆ่าคนธรรมดาได้ถึงสิบคนสบายๆ
แต่รัสปูตินไม่ธรรมดา ทั้งดื่มทั้งกินสารพิษ ร้ายเข้าไปแล้วก็ยังมีทีท่าปกติ ยูสโซปอฟ แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง นี่ต้องเป็นอำนาจของปิศาจร้ายแน่ๆ ด้วยความโกรธและตกใจ เจ้าชายจึงชักปืนรีวอลเวอร์ ออกมากระหน่ำยิงรัสปูตินจนล้มคว่ำ แน่ใจว่าหนนี้นักบวชชั่วคงตายแน่นอน ยูสโซปอฟเข้าไปก้มดูร่างที่นอนนิ่งอยู่ หากทว่าร่างนั้นกลับลืมตา จ้องถมึงทึงพลางคำราม “แกไอ้บัดซบ” ยูสโซปอฟตระหนกสุดขีด แล้ววิ่งขึ้นบันไดร้องลั่น “มันไม่ตาย! มันยังมีชีวิต!”
ไม่เพียงแต่จะพยุงร่างตัวเองขึ้นได้ แต่รัสปูตินยังสามารถเดินโซซัดโซเซ ออกไปยังสนามหน้าวัง โดยมีกลุ่ม ผู้วางแผนฯ วิ่งไล่ระดมยิงตามหลัง อย่างบ้าคลั่ง แต่กระสุนปืนไม่อาจปลิดชีพ ของนักบวชผู้มีพลังจิตนี้ได้ สุดท้ายเมื่อไม่รู้จะ ทำฉันใด เหล่าเพชฌฆาต จำเป็นจึงจับร่างของรัสปูตินโยนลง ในแม่น้ำเนวาที่ไหล ผ่านนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อากาศที่หนาวจัดทำให้น้ำ บางส่วนกลายเป็นน้ำแข็ง
ยาพิษและกระสุนปืนไม่ระคายเคืองแก่รัสปูติน แต่เขาตายเพราะจมน้ำ!
ข่าวความตายอย่างหฤโหดของรัสปูตินแพร่กระจายไปทั่วอาณาจักร สร้างความโศกศัลย์แก่อเล็กซานดรายั่งนัก นอกจากนี้ยังทรงหวั่นไหวอย่างยิ่ง เนื่อง จากก่อนหน้าการตายไม่ นานนัก นักบวชผู้หยาบช้าได้เขียนบันทึกสั้นๆ ถึงพระองค์ไว้ว่า “ขอให้ทรงรับรู้ว่า ถ้าหากเชื้อพระวงศ์องค์ใดทำให้หม่อมฉันตาย พระ องค์และครอบครัวจะต้องสิ้นพระชนม์ภายในสองปี จากฝีมือของประชาชนรัสเซีย” เกรกอรี รัสปูติน มีนาคม 1917 ไม่ถึง 3 เดือนหลังการตายของรัสปูติน กระแสแห่งการปฏิวัติหลั่งไหลเข้ามาสู่นครหลวงของรัสเซีย ขบวนชาวนาและคนงานอุตสาหกรรมแห่กันเข้ามาถวายฎีกาปรับปรุงระบบการบริหารประเทศ แต่องครักษ์วังหลวงกลับต่อต้านด้วยอาวุธปืน ความจลาจลวุ่นวายบังเกิดขึ้น และผลสุดท้ายซาร์ก็จำต้องสละราชบัลลังก์ พระองค์และเชื้อพระวงศ์ถูกควบคุมตัวอย่างแข็งแรง และถูกนำไปกักขังไว้ ณ ไซบีเรียอันห่างไกลและกันดาร
โดยซารีน่าและเจ้าหญิงทั้ง สี่องค์ได้แอบซ่อนทองและ อัญมณีเอาไว้ในพระภูษาเป็นอันมาก หากทว่าไม่รอดพ้นมือ ของทหารปฏิวัติซึ่งขี้เมาและกักขฬะ
นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเจ้าหญิงผู้งดงาม ไร้เดียงสาบริสุทธิ์ทั้ง 4 องค์ ก็ไม่รอดพ้นการย่ำยีทางเพศ จากทหารเหล่านี้เช่นกัน!
นับเป็นชะตากรรมที่พลิกผันชีวิตอันสูงส่ง ลงมาต่ำสุดอย่างน่าสมเพชยิ่งนัก
เมษายน 1918 ครอบครัวราชวงศ์ โรมานอฟ ถูกนำไปไว้ในบ้านหลังหนึ่ง แถบภูเขาอูรัล ถึงตอนนี้พระเจ้าซาร์ก็ทรง ได้แต่ฝากความหวังไว้กับพระเจ้า และไม่ได้ตระหนัก รู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับ พระองค์ อีก บันทึกสุดท้ายของพระองค์คือ
“อากาศอบอุ่นและสบาย ไม่มีข่าวใดจากภายนอก”
ยามดึกของคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 1918 ครอบครัวโรมานอฟกับบริพาร และแพทย์ผู้ดูแล รักษา ทั้งหมดถูกปลุกขึ้นและนำตัวลงไปยังห้องใต้ดิน ต่อหน้ากลุ่มนักโทษสูงศักดิ์ นายทหารผู้ควบคุมได้อ่านประกาศ
“ด้วยเหตุที่วงศาคณาญาติของท่านดำเนินการโจมตีโซเวียตรัสเซีย คณะกรรมการบริหารแห่งอูรัล จึงตัดสินประหารท่าน”
แถวทหารเพชฌฆาต 12 นาย ประทับปืนขึ้นยิงกราดยังกลุ่มนักโทษ พวกเขาร่วงผล็อยราวใบไม้
ยูรอฟสกี้ ผู้ควบคุมการประหารก้าวเดินสำรวจ เจ้าชายน้อยอเล็กไซยังไม่สิ้นพระชนม์ ยูรอฟสกี้ ยกปืนพกขึ้นยิงองค์รัชทายาท 2-3 นัด ก็เป็นอันปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟ
คำสาปของนักบวชอลัชชีผู้ทรงอำนาจจิตแรงกล้านั้น ได้สร้างความวิบัติแก่ราชวงศ์โรมานอฟอย่างน่าเศร้า และสยดสยองยิ่ง

ที่มา:http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=344685&chapter=7

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ย้อนรอย "300" : ประวัติศาสตร์ชาตินักรบ


ประมาณปีพ.ศ.63 (480ปีก่อนค.ศ.) กองทัพเปอร์เซียของกษัตริย์เซอร์ซิสที่1 ได้นำกองทัพขนาดมหาศาลจำนวน500,000คน (ทัพบก250,000 ทัพเรือ250,000)เข้าตีดินแดนกรีกทางเขตมาซีโดเนีย เพื่อเป็นการล้างแค้นแทนพระบิดาของตน(กษัตริย์ดาริอุส) ที่เคยพ่ายแพ้สงครามแก่พันธมิตรแห่งกรีกในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก(พ่ายแพ้การยุทธที่มาราธอน) และเป็นการเปิดฉากสงครามเปอร์เซียครั้งที่ 2

ด้วยความเข้มแข็งของทัพเปอร์เซียและแผนของแม่ทัพกรีกที่จะถ่วงเวลาเพื่อรวบรวมกำลัง กรีกจึงต้องยอมเสียเมืองเล็กเมืองน้อยให้ฝ่ายเปอร์เซียยึดไล่มาเรื่อยจนทัพเปอร์เซียมาถึงบริเวณช่องเขาแห่งหนึ่งคือ"เธอร์โมไพลาย"(Thermopylae)ซึ่งเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนจะถึงนครเอเธนส์ ช่องเขานี้เองจะกลายเป็นสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดแห่งหนึ่งในสงครามครั้งนั้น


ด้วยสภาพภูมิประเทศของคาบสมุทรกรีก นี่คือที่ที่กองทัพผู้รุกรานจะต้องเดินทัพผ่าน เทอร์โมพิลลาย คือ ยุทธศาสตร์ ที่สำคัญมากสำหรับกองทัพเปอร์เซียที่จะต้องผ่านไปให้ได้ เทอร์โมพิลลาย ในภาษากรีกแปลว่า ประตูร้อน (ภาพจำลองกราฟิก ของช่องเขาเทอร์โมพิลลาย)

ชาวกรีกส่งทหาร7000นาย ไปป้องกันพื้นที่ยุทธศาสตร์นี้ทันที

พร้อมกับ ทหารสปาทานอีก 300 นาย

(ภาพแสดงการบุกของทัพเปอร์เซีย)


ตอนนี้ทัพเปอร์เซียต้องมาเจอกับกองกำลังผสมของทหารเอเธนส์-สปาร์ตา-นครพันธมิตร จำนวน7,000นายซึ่งนำมาโดยกษัตริย์"เลโอนิดาส"แห่งสปาร์ตาผู้เจนศึก แต่จำนวนทหารสปาร์ตาที่เชี่ยวชาญสงครามนั้นมีจำนวนแค่น้อยนิด เพราะว่าเวลานั้นเป็นช่วงเทศกาล"คาร์เนี่ยน"ที่ชาวสปาร์ตาเขาถือกันว่าไม่ควรออกทำศึก ทหารสปาร์ตาที่มาจึงเป็นกองกำลังเล็กๆ ของเลโอนิดาสที่คัดเลือกมานั่นเอง

(เทศกาล"คาร์เนี่ยน"จัดขึ้นในสปาร์ตายุคโบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าอะพอลโล่ โดยเมื่อถึงเวลาชาวสปาร์ตาจะเก็บตัวและจัดงานฉลองอยู่ในบ้านเมืองตนเองเท่านั้น และห้ามทหารออกรบรึเข้าร่วมศึกสงครามใดๆ ทั้งสิ้น)


เมื่อกว่า2500ปีมาแล้ว กรีกไม่ได้รวมเป็นอาณาจักร แต่เป็นรัฐอิสระจำนวนมาก เช่น เอเธนส์ โครินธ์ และสปาทาซึ่งต่างก็มีกฎหมายและระบบการปกครองเป็นของตนเอง
ชาวกรีกอยู่ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่ ตรุกี อียิปต์ตอนเหนือ 

แถมเกร็ดนิดหน่อยสมัยนั้นกรีกมีการปกครองแบบสาธารณรัฐมีนครรัฐหลายแห่งมารวมตัวกัน ซึ่งนครเอเธนส์กะนครสปาร์ตานี้จะเป็นคู่กัดกันตลอด เพราะเอเธนส์เน้นการปกครองประชาธิปไตยกับการพัฒนาวัฒนธรรมมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งสุดส่วนสปาร์ตาเน้นด้านเผด็จการทหารมีกองทัพบกที่แกร่งสุด 2 นครนี้จึงต่างแย่งกันจะเป็นผู้นำของกรีก 

รวมถึงจากการที่สปาร์ตาทอดทิ้งเอเธนส์ในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก (ย้อนกับไปอ่านด้านบน) เมื่อพลนำสารเอเธนส์วิ่งทรหดจากหาดมาราธอนเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากกองทัพสปาร์ตาจนเป็นตำนานอันลือลั่น (ตำนานการวิ่งมาราธอน) แต่สปาร์ตาไม่ส่งกำลังมาช่วยเพราะอ้างว่าอาณาจักรของตนกำลังมีเทศกาล"คาร์เนี่ยน"อยู่ และเหตุการณ์ดันพลิกผันเมื่อเอเธนส์สามารถเอาชนะเปอร์เซียตอนนั้นได้ด้วยกำลังตนเองและได้รับการยกย่องจากนครรัฐต่างๆ ของกรีกให้เป็นผู้นำ นครสปาร์ตาซึ่งอยากเป็นใหญ่จึงเริ่มมีอคติกับเอเธนส์มากขึ้น


480ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์เซอร์ซิส เดินทางข้ามเทลปอน เข้าสู่ประเทศกรีกทางตอนเหนือ

โดยมีทัพเรือของพระองค์เลียบมาตามชายฝั่ง ตีหัวเมืองแตกมาตลอดเส้นทาง

เซอร์ซิสเป็นกษัตริย์ที่ดุร้าย พระองค์ไม่ทรงหยุดจนกว่าจะได้สิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาเอาไว้ พระองค์เดินหน้าต่อไป แต่เป้าหมายของพระองค์ คือเอเธนส์

ชาวกรีกต้องต้านทานอย่างสุดฤทธิ์ ต่อการศึกที่จะเกิดขึ้น ณ เทอร์โมพิลลาย มิฉะนั้นระองค์จะทรง ยาตราทัพเข้าสู่เอเธนส์ได้อย่างง่ายดาย

ภาพกษัตริย์เลโอนิดาส"คนกลาง"กับทหารสปาร์ตาที่ช่องเขาเธอร์โมไพลาย




สภาพสังคมของชาวกรีก กับสปาทา ก็แตกต่างกัน คือชาวกรีกจะเป็นสังคมแบบเปิด ส่วนสปาทันจะ เป็นสังคมแบบปิด

เพราะว่าพวกสปาทันเกิดมาเพื่อเป็นทหารเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้รับการฝึกอบรมให้เป็นทหาร ตั้งแต่อายุได้7ปี(ประถม2เอง)กองทัพคือชีวิตจิตใจ

แม้จะแต่งงานแล้วก็ตามพวกเขาก็ยังคงอาศัยอยู่ในค่ายทหาร... พวกเขาทำอาชีพอื่นไม่เป็นเช่น การค้า ธุรกิจ ส่วนงานอื่นๆ ก็ล้วนทำด้วยพวกทาส


กลับมาที่เทอโมไพลายกษัตริย์เลโอนิดาสคะเนจากชัยภูมิแล้วจึงให้วางกำลังทหารส่วนหนึ่งไว้บนที่สูงและบริเวณปากช่องเขา พอทหารเปอร์เซียเดินทัพเข้ามาทางหุบเขาที่เป็นบริเวณแคบอยู่แล้วก็ถูกกำลังของเลโอนิดาสซุ่มโจมตีจนต้องสูญเสียไพร่พลไปจำนวนมาก

สองวันแรกของการรบนั้นสถาณการณ์อยู่ข้างฝ่ายกรีก ตอนแรกฝ่ายเปอร์เซียส่งทหารชาวเมเดส(Medes)เข้าเป็นหน่วยแนวหน้า แต่เมื่อชาวเมเดสอันเหี้ยมหาญต้องมาเจอกับยุทธวิธีแบบ"ฟาแลงซ์"(phalanx)ของชาวกรีกเข้าก็ต้องสิ้นท่าครับตายกันเกลื่อนบริเวณ แม้ต่อมาเซอร์ซิสได้ส่งทหารหน่วยอมตะ(Immortal)จำนวน 10,000นายซึงเป็นทหารหน่วยที่เยี่ยมที่สุดเข้าต่อกรแต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน การรบช่วงแรกชัยชนะจึงตกเป็นของกรีก


กองทหาร อิมเมอร์เทิล (Immortal) เป็นกองทหารที่ดีที่สุดของเปอร์เซีย ซึ่งเป็นคำดังกล่าวเป็นภาษากรีกที่เรียกหน่วยทหารนี้ 

ทหารชาวเมเดส(Medes) เป็นทหารแนวหน้าที่เข้าต่อสู้

(เสริมหน่อยครับยุทธวิธีแบบ"ฟาแลงซ์"เป็นการรบของทหารกรีกโบราณ คือการให้ทหารแต่ละคนจัดขบวนให้ชิดกันเอาโล่ห์ประจำกายมาตั้งเรียงซ้อนกันและรุกไปข้างหน้าพร้อมหอกยาวในมือ เป็นการป้องกันลูกธนูกับหอกซัดพร้อมกับตีโต้ไปในตัวได้ดี ถ้านึกไม่ออกให้ไปดูเรื่อง"ทรอย"ตอนแบรดพิตต์ยกพลทหารขึ้นบกแล้วให้ทหารเอาโล่ห์มาต่อกันนั้นแหละ)

หัวหน้ากองจะให้สัญญานเดินหน้า ทหารแถวหลังจะเริ่มออกเดิน แล้วใช้โล่ห์ของตนรุนหลังทหารในแถวหน้า เพื่อทำการผลักทหารของฝ่ายตรงข้าม ให้หลุดออกจากสมรภูมิ พวกเขาใช้วิธีการนี้ที่ถูกฝึกมาชั่วชีวิต

ขบวนรบแบบฟาลังค์นี้ประกอบไปด้วยทหาร 18แถว แต่ละแถวมี 64คน โล่ห์ของพวกเขาก็จะซ้อนกัน เหมือนเกล็ดงู มันทำให้แทบไม่มีอะไรเจาะทะลุไปได้

ทหารสปาทัน ก็บาดเจ็บล้มตายไปมากเช่นกัน ซึ่งพวกชาวสปาทันมีวิธีจำเพาะในการจำแนกศพผู้ตาย ซึ่งบางคราวอยู่ในสภาพที่จำไม่ได้

พวกเขาจะนำกิ่งไม้เล็กๆ มาทำสัญญลักษณ์ที่ปลายทั้งสอง แล้วก็หักออกเป็น2ท่อน ส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในชาม อีกส่วนหนึ่งจะใส่ไว้กับข้อมือของทหาร นี่คือลักษณะเดียวกับป้ายชื่อคล้องคอในปัจจุบัน (Dogtag)

(Dogtag)

เมื่อการรบมาถึง วันที่2 พวกเปอร์เซียรุกคืบหน้าไม่ได้เลย พวกเขาไม่เคยทำการรบในลักษณะนี้ พวก เขาคุ้นกับการรบในที่กว้าง ที่ทหารม้า รถศึก และทหารอาวุธเบา มีความสำคัญอย่างมาก

กษัตริย์เซอร์ซิส ทรงตัดสินใจใช้ไพ่ตายก็คือ หน่วยอิมเมอร์เทิล พวกนี้เป็นหน่วยทหารชั้นเยี่ยมที่มีทั้งธนู หอก และกริดสั้น เป็นอาวุธ แต่หน่วยอิมเมอร์เทิล ก็ล้มตายลงเป็นทิวแถว เพราะทหารอาวุธเบาไม่สามารถทะลวงเกราะของทหาร อาวุธหนักได้ แต่ทหารกรีก กลับทะลวงฟันทหารเปอร์เซียได้ตามใจชอบ และนอกจากนี้พวกกรีกยัง ถูกฝึกมาให้สู้ในระยะประชิดตัวอีกด้วย


ระหว่างที่คิดหาทางจะโจมตีทัพกรีกอยู่นั้นก็เหมือนสวรรค์เข้าข้างเปอร์เซีย มีชาวกรีกทรยศชื่อ"เอพิเทส"(Ephialtes)ได้มาเสนอว่าจะพาเซอร์ซิสไปชมพื้นที่ของช่องเขาแห่งนี้โดยแลกกับรางวัล  เอพิเทสพากษัตริย์เปอร์เซียไปชมช่องเขารอบๆ และเส้นทางแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รกไปด้วยพุ่มไม้หนามแต่ว่าสามารถไปทะลุที่หลังค่ายชาวกรีกได้

(ต่อมาชื่อ"เอพิเทส"นี้ได้ถูกนำมาต่อท้ายกลายมาเป็นคำว่า"Ephialtes the tratiors"หรือเอพิเทสคนขายชาติ โดยชื่อของเขาได้กลายมาเป็นคำศัพท์ในภาษากรีกซึ่งถ้าแปลเป็นอังกฤษจะหมายความว่า"nightmare"ฝันร้ายนั่นเอง)



เมื่อทหารกรีกเริ่มล้า กษัตริย์ลีโอนีดัสได้ส่งทหารสปาทันเข้ารบ ซึ่งก็เดินทัพแบบฟาลังค์เข้าไป ในขณะที่พวกกรีก ถอยทัพ  ทหารสปาทัน ซึ่งได้รับการฝึกมาอย่างดีได้สังหารข้าศึกข้างหน้าจนสิ้นซาก

ภาพกราฟิกมุมสูงเผยให้เห็นการวางกำลังของฝ่ายกรีก

พื้นที่จำกัดของหุบเขา ทำให้พวกเปอร์เซียไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทหารจำนวนมากของตนได้ พวกเขาส่งทหารเข้าสมรภูมิไม่พอเพียง ที่จะต่อสู้กับเครื่องจักรสังหารสปาทัน ทหารของกษัตริย์เซอร์ซิส ล้มตายระลอกแล้วระลอกเล่า จากการพยายามฝ่าแนวป้องกันของสปาทัน

"เอพิเทส" (Ephialtes


ในวันที่สามตอนรุ่งสางแม่ทัพเปอร์เซียได้นำทหารหน่วยอมตะจำนวนหนึ่งไปตามเส้นทางลับนี้และเจอกองทหารชาว"โพเชี่ยน"1,000นาย ซึ่งเลโอนิดาสให้มาเฝ้าเส้นทางไว้ ฝ่ายเปอร์เซียได้ทำการยิงห่าฝนธนูจำนวนมากไปยังทหารโพเชี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังหลับอยู่ ก่อนเข้าประจัญบานจนทหารโพเชี่ยนแตกกระบวนถอยหนีไปหมด ทำให้เปอร์เซียสามารถตียึดเส้นทางนี้ได้อย่างง่ายดาย

เมื่อความมืดปกคลุม ทหารเปอร์เซีย เดินทัพไปตามทางลับ ในเช้าของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซีย ก็ปรากฎตัวทางด้านหลังของกองทัพสปาทันกษัตริย์ลีโอนีดัส ทรงถูกล้อม ทรงทราบพระทัยดีว่า นี่คือการศึกครั้งสุดท้ายของพระองค์ เพื่อให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายน้อยที่สุด ทรงให้ทหาร กรีกเดินทัพกลับไป ส่วนพระองค์และทหารสปาทัน จะยืนหยัดสู้จนตาย 


เมื่อตะวันขึ้นเลโอนิดาสจึงทราบว่ากองทัพของตนตอนนี้ถูกล้อมกรอบเสียแล้วเขาจึงทำการเรียกประชุมแม่ทัพนายกองทั้งหมด โดยขุนศึกของเอเธนส์และนครกรีกอื่นๆ เสนอว่าควรถอยทัพกลับไปขณะที่ยังมีโอกาส หลังการประชุมกษัตริย์เลโอนิดาสจึงออกคำสั่งที่กล้าหาญเยี่ยงวีรบุรุษ

คำสั่งคือให้ทัพจากนครกรีกอื่นๆ ถอยทัพไปรวมพลกับกองทัพพันธมิตรที่ตั้งค่ายรออยู่ ส่วนตนเองพร้อมทหารสปาร์ตา"300"นายจะคอยยันถ่วงเวลาทหารเปอร์เซียไว้เพื่อให้ทัพกรีกหนีไปอย่างปลอดภัย โดยที่มีทหารจากนคร"เทปเซียน"(Thepsians)จำนวน700นายซึ่งนำโดยแม่ทัพ"เดโมฟิลัส"ตัดสินใจที่จะอยู่ช่วยสปาร์ตาอีกแรงหนึ่งด้วย

โดยในวันนั้นเลโอนิดาสได้จัดการแจกจ่ายเสบียงให้ทหารของตนกินกันให้เต็มที่พร้อมทั้งกล่าวปลุกใจทหารของตนว่า(Tonight we will dine in Hell) "คืนนี้เราจะฉลองมื้อค่ำกันในนรกภูมิ" โดยหลังจากนั้นเมื่อทหารกรีกอื่นๆ เริ่มทยอยหนีจากค่ายไปแล้วทหารสปาร์ตา300นายและทหารเทปเซียนได้เดินทัพออกมาจากค่ายและได้เข้าประจัญบานกับทัพเปอร์เซียในที่โล่ง




ทหารกรีกคนหนึ่งเตือนว่า พวกเปอร์เซียมีธนูจำนวนมาก จนสามารถที่จะบดบังแสงอาทิตย์ได้ ไดแอนนิธิส แห่งสปาทันกล่าวว่า "ดีเราจะได้สู้ในร่ม"

นี่เป็นความชาญฉลาดของพวกสปาทัน พวกเขาใช้เสียงหัวเราะขับไล่ความกลัว แต่กษัตริย์ลีโอนีดัสทรงเคร่งขรึม พระองค์ให้เหล่าทหารของพระองค์กินอาหารเช้า แล้วตรัสว่า "จะทรงกินอาหารเย็นในนรก"

เมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ทหารเปอร์เซียตีโอบล้อมทหารสปาทันจำนวนหยิบมือ จากทั้งสองด้าน พวกสปาทัน ต่อสู้ราวกับปีศาจบ้าคลั่ง เปอร์เซียสูญเสียทหารเป็นจำนวนมาก แต่กษัตริย์ลีโอนีดัสก็ไม่อาจต้านทานกำลังที่มากกว่าหลายเท่าตัวได้

ทหารหลายคนโดนธนูยิงตายตั้งแต่ยังไม่ตะลุมบอนที่รอดจากคมธนูต่างต่อสู้อย่างถวายชีวิตด้วยรู้ว่าตนจะไม่มีโอกาสรอดกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว ทั้งหอกและดาบสั้นถูกนำมาใช้ประมือกันในระยะใกล้อย่างเหี้ยมโหด ถึงแม้ทหารสปาร์ตาแต่ละคนจะเป็นเผ่าพันธุ์นักรบและได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่ด้วยจำนวนเพียงน้อยนิดจึงทำให้ตกเป็นรองและถูกฝ่ายเปอร์เซียฆ่าล้างบางจนเกลี้ยง

หนึ่งในจำนวนนี้ยังรวมถึงกษัตริย์เลโอนิดาสซึ่งได้ทรงสิ้นพระชนม์ในที่รบนั้นด้วย จากนั้นทัพเปอร์เซียได้ทำการล้อมค่ายของชาวกรีกที่ตอนนี้เหลือทหารเทปเซียนและธีบานส์อยู่ไม่มาก ทหารกรีกที่เหลือในค่ายตอนนี้ต่างเข้าทำการรบครั้งสุดท้ายอย่างไว้ลายด้วยอาวุธทุกอย่างที่พอจะหามาได้

ส่วนทหารธีบานส์ภายใต้การคุมของแม่ทัพ"เลออนไธเดส"ได้แสดงความขี้ขลาดออกมาโดยได้ยกมือทิ้งอาวุธยอมจำนนทันที แต่ชาวเปอร์เซียซึ่งไม่ฟังเสียงก็ได้ทำการล้อมค่ายแล้วยิงธนูเป็นห่าฝนเข้าสังหารทหารในค่ายที่เหลือจนเกือบหมด
เมื่อเสร็จศึกบริเวณช่องเขากษัตริย์เซอร์ซิสได้ทำการตัดหัวของเลโอนิดาสจากร่างอันสิ้นลมของเขาและนำร่างที่เหลือไปตรึงกับแผ่นไม้ แต่ภายหลังกษัตริย์เซอร์ซิสรู้สึกว่าตนลบหลู่เกียรติของกษัตริย์เลโอนิดาสผู้ห้าวหาญจึงได้สำนึกเสียใจขึ้นมา

พระองค์จึงสั่งให้บรรจุศพของเลโอนิดาสไปฝังอย่างสมเกียรติและทำแท่นหินรูปสิงโตปักไว้เหนือหลุมในบริเวณช่องเขาเธอร์ไมโพลีนั่นเอง 40ปีต่อมาพระศพของเลโอนิดาสจึงถูกส่งคืนกลับสปาร์ตา


จากเหตุการณ์นี้ทำให้เปอร์เซียสูญกำลังรบหลักไปหลายหมื่นนายด้วยน้ำมือของทหารสปาร์ตาแค่ไม่กี่หยิบมือกษัตริย์เซอร์ซิสจึงเร่งเดินทัพไปจนถึงกรุงเอเธนส์และทำการเผาเมืองจนวอดวายไปหมดด้วยความแค้นแต่ทว่าชาวเมืองไหวตัวทันก่อนและได้ชิงหลบหนีไปหมดแล้วจึงเป็นการเผาเมืองเปล่าๆ

ส่วนทหารพันธมิตรนั้นได้ย้ายกองทัพไปซ่อนที่เมืองชายฝั่งบนเกาะแห่งหนึ่งชื่อ"ซาลามิส"เพื่อรอรับการโมตีจากเปอร์เซีย เมื่อกองเรือเปอร์เซียตามมาทันแม่ทัพกรีก"เธมิสโตคลิส"จึงสั่งให้ทัพเรือเอเธนส์ระดมยิงลูกไฟจากเรือ เพื่อทำการโจมตีแบบไม่ให้เปอร์เซียตั้งตัวและทำการหันหัวเรือเข้าชนเรือเปอร์เซียจนเสียหายไปมากถึง 200กว่าลำ (เรือกรีกสมัยนั้นนิยมทำหัวให้แหลมและติดเหล็กยาวปลายแหลมที่ทำเป็นรูปต่างๆไว้เพื่อสะดวกเวลาพุ่งชนเรือข้าศึกให้จมลง)

ทัพเรือเปอร์เซียทนความสูญเสียไม่ไหวจึงต้องถอนทัพกลับส่วนทัพบกนั้นได้เข้าตะลุมบอนกับทัพพันธมิตรกรีก ซึ่งตอนนี้ได้ระดมพลมาได้จำนวนมาก (รวมทั้งจากนครสปาร์ตาที่ตอนนี้หมดหน้าเทศกาลคาร์เนี่ยนแล้ว) ทัพกรีกเวลานี้มีการเตรียมตัวมาอย่างดีและก็เป็นกรีกที่ชนะได้เกือบจะทุกสมรภูมิ จนการรบไปจบลงที่สมรภูมิสุดท้ายบริเวณเมือง"พลาเทีย"ซึ่งหลังจากนั้นแม่ทัพกรีกได้มีการตั้งฆ่าหัวของเอพิเทสที่ทรยศชาวกรีกไว้ด้วยต่อมาชายชื่อ"อาเธนาเดส"ได้เป็นผู้สังหารเอพิเทสผู้ทรยศ


เมื่อกองทัพเปอร์เซียต่างพากันพ่ายแพ้อย่างหมดรูปกษัตริย์เซอร์ซิสจึงต้องจำใจยกทัพที่เหลือกลับอาณาจักรเป็นการปิดฉากสงครามเปอร์เซียลงอย่างสิ้นเชิง(เพราะหลังจากนั้นอาณาจักรเปอร์เซียเริ่มอ่อนแอลงและไม่มีกำลังพอจะก่อสงครามใหญ่ๆ ขนาดนี้ได้อีก จนปีพ.ศ.209"อเล็กซานเดอร์มหาราช"ได้เป็นผู้นำกองทัพชาวกรีกไปบดขยี้ชาวเปอร์เซียถึงถิ่น จนชนชาติเปอร์เซียต้องดับสูญลงอย่างถาวร)


ที่มา:http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=344685&chapter=9



ไขความลับเรือไททานิก


หลายคนคงยังจำหนังโรแมนติกอย่าง “ไททานิก” ได้ดี หนังเรื่องนี้เป็นฝีมือกำกับฯ ของเจมส์ คาเมอรอน ผู้เคยฝากผลงานอันลือลั่นไว้หลายเรื่อง แม้ว่าคาเมอรอนจะปิดฉากตำนานรักระหว่างแจ๊คกับโรสในไททานิกไปนานแล้ว แต่เขาก็ยังมีบางอย่างที่ค้างคาใจ เพราะสร้างหนังเรื่องนี้จนสำเร็จ หากทว่าไม่เคยได้สัมผัสหรือเห็นตัวจริงของนาวาลำนี้เลย จินตนาการของเขานั้นมันถูกต้องกับของจริงหรือเปล่า  ดังนั้น คาเมอรอน จึงจัดทีมงาน ดำลงไปสำรวจซากเรือยักษ์ใต้สมุทรลำนี้ในเวลาต่อมา

ไททานิกชนภูเขาน้ำแข็งและอับปางลงในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หรือกว่า 80 ปีมาแล้ว ซากเรือลำนี้จมอยู่ใต้ความลึกถึง 12,500 ฟุต (ราว 4 กิโลเมตร) ซึ่งความลึกขนาดนี้จะมีแรงอัดมหาศาลถึง 5,500 ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว ด้วยเหตุนี้การดำลงไปสำรวจจึงต้องใช้ยานพิเศษที่ชื่อว่า เมียร์ (MIR) ซึ่งสามารถดำได้ลึกถึง 20,000 ฟุต และให้แสงสว่างที่ทำให้เห็นอะไรต่ออะไรได้ เนื่องจากใต้สมุทรนั้นมืดมิดไร้แสงใดๆ นอกจากนี้ ยังมีสายเคเบิลไฟเบอร์ออพติกพ่วงโยงไปยังเรือบนผิวน้ำ เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างการสำรวจด้วย ซึ่งก็เป็นที่หวั่นเกรงกันนักหนาว่า ถ้าหากสายเคเบิลอันยาวเหยียดนี้ขาดผึงลง ก็อาจม้วนพันรัดเอายานเมียร์จมดิ่งอยู่ใต้สมุทรตลอดกาล

ขอย้อนเล่าถึงความหายนะที่เกิดขึ้นนิดนึง เมื่อตอนที่เรือสำราญสุดหรู ขนาด 46,000 ตัน แล่นชนภูเขาน้ำแข็งนั้น รูทะลุที่เกิดขึ้นไม่ใช่สาเหตุสำคัญ ของการจม แต่เป็นเพราะแผ่นเหล็ก ลำเรือที่ทยอยกันฉีกขาด และทำให้น้ำทะเล ไหลบ่าเข้ามาอย่างรวดเร็ว อันที่จริงไททานิกได้ป้องกันไว้แล้ว โดยสร้างห้องเก็บน้ำเป็นช่องๆ หากน้ำทะลักเข้ามาใน 2 ห้องด้านหน้า หรือแม้แต่ใน 4 ห้องแรกก็ไม่เป็นไร แต่รอยทะลุเกิดขึ้นในห้องที่ 5 จึงต้องอับปางลง 


The Grand Staircase
ขณะที่จมดิ่งลงมาลึกราว 300 เมตร ลำเรือก็แตกร้าวเป็นสองท่อน ด้านหัวเรือซึ่งยาวกว่าพุ่งนำลงมาก่อน ลากเอาส่วนท้ายตามลงมาในแนวดิ่ง แล้วก็หักหลุดจากกัน ท่อนหัวดำดิ่งพุ่งลิ่วยังกับตอร์ปิโด โครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ กระจัดกระจายไปทั่ว แล้วหัวเรือก็ปักจมลงไปในโคลนใต้สมุทรลึกประมาณตึก 6 ชั้น และซากส่วนนี้แหละที่คาเมอรอนกับคณะสนใจสำรวจ 
เอกลักษณ์อันติดตรึงใจของไททานิกก็คือ บันไดใหญ่หรือแกรนด์สแตร์เคส (The Grand Staircase )ที่สร้างอย่างอลังการ ด้วยไม้โอ๊คแกะสลักบันไดนี้ทอดยาวจากชั้นดาดฟ้า A จนถึง E รวมหกชั้นด้วยกัน ประดับด้วยราวทองเหลืองและบรอนซ์เป็นมันแวววาว อภิมหาบันไดนี้ เป็นที่สงสัยกันมานานถึงชะตากรรมที่บังเกิดกับมันว่าเป็นฉันใด 


แต่แรกนั้นเข้าใจกันว่าแกรนด์ บันไดนี้คงพังพินาศอยู่กับใจกลางเรือ หากทว่าคณะสำรวจกลับไม่เห็น ร่องรอยของมัน แม้ว่าจะมีเศษไม้ และราวเหล็กเกลื่อนกลาด แต่ก็เป็นชิ้นส่วนที่ตกลงมาจากเพดานห้อง ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าบันไดยักษ์นี้ หลุดออกจากฐาน และลอยขึ้นสู่เหนือน้ำทั้งแผง แต่มีข้อมูลจากผู้รอดตาย หรือไม่ว่าได้พบเห็นบันไดนี้ลอยขึ้นมา

แจ๊ค ธาเยอร์ หนึ่งในผู้รอดชีวิตให้การว่า เขาเห็นส่วนหัวเรือลอยอยู่เหนือน้ำ (ซึ่งแท้จริงยังจมอยู่ใต้โคลน) ดังนั้น เป็นไปได้ไหมว่า สิ่งที่เขาเห็นนั้นคือ ซากของบันได นอกจากนี้ ยังมีรายหนึ่งซึ่งเกาะท่อนไม้ล่องลอยอยู่จนมีเรือมาช่วยไว้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เราไม่อาจรู้แน่ชัดว่าไม้ท่อนนั้นเป็นเศษของบันไดหรือไม่ 




Wallace Hartley
คณะสำรวจมุ่งต่อไปยังดาดฟ้าที่ไว้เรือชูชีพ ณ ที่นั้นคือ ฉากสุดยอดแห่งความโกลาหลวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระหว่างเรือใกล้จม ที่นี่มีเสาห้อยเรือบดซึ่งสูงราว 4 เมตร ส่วนเรือบดหรือเรือชูชีพนั้นยาวลำละ 10 เมตร มีอยู่ 4 ลำ ซึ่งผู้โดยสารที่เหลือคงจะรุมล้อมแหงนมองมันอย่างมิรู้จะทำฉันใด

และที่ดาดฟ้านี่เอง ที่มีเหตุการณ์อันเหลือเชื่อ นั่นคือ นักดนตรีทั้งหลายแห่ง วงออร์เคสตราได้ร่วมใจ กันขึ้นมาบรรเลงเพลง เพื่อให้ผู้โดยสาร ที่ตื่นตระหนกได้สงบลง เพลงสุดท้ายเป็นเพลงช้าๆ ที่คาดกันว่าชื่อ Nearer My God To Thee ผู้กำกับวงที่มีนามว่า วอลเลซ ฮาร์ทลีย์ ได้รับความยกย่องในสมาธิ และความกล้าหาญที่คุมวงบรรเลง จนหยดสุดท้าย นักดนตรีทั้งหมดเสียชีวิต และได้พบร่างของฮาร์ทลีย์ในภายหลัง เขาได้รับพิธีฝังเยี่ยงวีรบุรุษ



จุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ห้องวิทยุ นับเป็นโชคดีที่ยุคนั้นได้มีการสื่อสาร แบบไร้สายกันแล้ว โดย มาร์โคนี เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุขึ้น ซึ่งถ้าหากไททานิกไม่ได้ส่งสัญญาณวิทยุ ไปยังเรือต่างๆ ให้มาช่วย โดยเฉพาะเรือคาร์พาเธียแล้วละก้อ คงมีผู้เสียชีวิตกลางทะเล มากกว่านี้อย่างแน่นอน


จากซ้าย Jack Pillipis (ตายในคืนนั้น) Harold Birde (ตายในปี 1956)
ในห้องส่งวิทยุนี้ คณะสำรวจพบอุปกรณ์ ต่างๆ ยังอยู่เกือบครบครัน นับตั้งแต่ไดนาโม ที่มีมอเตอร์ต้นกำเนิดพลังงานที่ใช้ส่งวิทยุ แผงสวิตช์ต่างๆ ซึ่งตำนานไททานิกในเรื่องนี้มีระบุว่าคืนก่อนหน้าความหายนะ อุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุเกิดขัดข้อง แต่เนื่องจากผู้โดยสารส่วนใหญ่ล้วนเป็นเศรษฐี และต้องการที่จะสื่อสารไปยังครอบครัวเพื่อเล่าถึงการเดินทางอันสุดแสนประทับใจนี้ ดังนั้น จึงมีหนุ่มน้อยสองคนขันอาสาเข้าแก้ไขอุปกรณ์ และหลังจากปลุกปล้ำอยู่นานถึง 6 ชั่วโมง แจ๊ค ฟิลลิปส์ กับ ฮาโรลด์ ไบรด์ ก็พบสายไฟลัดวงจรต้นเหตุ แล้วจึงจัดการซ่อมแซมจนสำเร็จใช้งานได้


 
ซ้าย : ภาพจำลองเครื่องยนต์ของเรือไททานิก    ขวา : ภาพถ่ายจริงของเครื่องยนต์ 
ต่อข้อสงสัยว่าพนักงานวิทยุ ได้อยู่ปฏิบัติการจนวาระสุดท้าย ของเรือหรือไม่ ข้อนี้ไบรด์กล่าวว่า พนักงานยังคงอยู่อย่างกล้าหาญ ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ผู้ที่รอดชีวิต 703 คนนั้น ล้วนเป็นหนี้บุญคุณ เครื่องส่งวิทยุชิ้นนี้

มีความลับหนึ่งซึ่งผู้โดยสารไม่เคยล่วงรู้ นั่นคือได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ในห้องเครื่องของ ไททานิก เพลิงได้ลุกไหม้ ในกองเก็บถ่านหิน ซึ่งอยู่ระหว่างหม้อไอน้ำสองหม้อ เหตุนี้อาจเกิดขึ้นก่อนออกเดินทาง แต่ลูกเรือไม่สามารถดับไฟได้ จึงต้องใช้วิธีโกยถ่านที่ลุกแดงโยนเข้าเตาไฟ และสุดท้ายก็ควบคุมเพลิงไว้ได้ในคืนก่อนหน้าการอับปาง พวกเขาเอาน้ำมันดำทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้เพื่อปิดบังร่องรอย แต่ลูกเรือสองคนให้การในภายหลังว่า ผนังห้องเครื่องระหว่างห้องหม้อไอน้ำ 5 กับ 6 โก่งบิดอย่างเห็นได้ชัด เหตุการณ์นี้ทำให้บางคนเชื่อว่าส่งผลให้ลำเรือชำรุด และมีส่วนในการที่จมลงอย่างรวดเร็ว 

ท้ายที่สุด คาเมอรอนกับคณะก็ได้สำรวจถึงส่วนนันทนาการของผู้โดยสารไททานิก มีบริการให้ครบถ้วนเหมือนสปอร์ตคลับ ไม่ว่าจะเป็นเตอร์กิชบาธ หรือสปาในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อ 80 ปีก่อนโน้นสปาเป็นที่นิยมกันมาก ค่าเตอร์กิชบาธ บนไททานิกก็เพียงแค่ 1 เหรียญ แต่ถ้าคุณสมัครใจจะว่ายน้ำในสวิมมิงพูลก็ 24 เซนต์ ค่าเล่นสควอช 50 เซนต์ ต่อชั่วโมง (ในขณะที่ค่าโดยสารห้องสวีต พิเศษสุด 3,300 เหรียญ หรือราว 130,000 บาท และชั้นต่ำสุดแค่ 33 เหรียญ)

คณะสำรวจต้องตื่นตะลึง เมื่อเห็นภายในห้อง เตอร์กิชบาธอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก ทั้งนี้เพราะวัสดุที่ใช้ล้วนเป็น ประเภทที่ไม่ถูกน้ำทะเลกัดกร่อน (ดังเหล็ก) อาทิ ไม้สัก เครื่องเซรามิก พรมน้ำมัน โคมไฟ บรอนซ์ ฯลฯ


สิ่งที่น่าแปลกใจอีกอย่างหนึ่งคือ เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องประดับใหญ่ๆ จะพินาศมากกว่าชิ้นเล็กๆ เช่นว่า แกรนด์เปียโน จะคว่ำเค้เก้อยู่อีกฟากหนึ่งของห้อง ในขณะที่แก้วน้ำแบบบาง บนหิ้งกลับไม่กระทบกระเทือน ไม่มีแม้แต่รอยร้าว!? 
และนี่ก็คือเรื่องราวความลับใต้สมุทรของซากเรืออับปางที่เรียกขานกันว่า "ไม่มีวันจม"





ที่มา:http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=344685&chapter=8

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites