วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เมืองแห่งทองคำ

                                                 ตามตำนานบันทึกไว้ว่าหัวหน้าเผ่าคนหนึ่งของชนเผ่าแถบอเมริกาใต้ชุบตัวเองด้วยผงทองคำและพร้อมจะกระโจนลงสู่ทะเลสาบในหุบเขา  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างความคลางแคลงใจให้กับนักสำรวจผู้ใคร่รู้หลายต่อหลายคน  จากหลักฐานบางอย่างซึ่งถูกค้นพบและจากบันทึกซึ่งถูกนำมาอ้างอิง
    บริเวณอันเป็นที่มาของตำนานแห่งเมืองทองคำ(Legendary Country Of The Golden Man)ถูกเรียกว่าเมืองมัสคา(Muisca)หรือมัสก้า(Muska)  ปัจจุบันนี้คือเขตแดนของเมืองคันเดอร์มาร์คา(Cundinamarca)และเมืองโบยาคา(Boyaca)อันเป็นพื้นที่ราบสูงของประเทศโคลัมเบีย  ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักรบผู้เชี่ยวชาญการสำรวจชาวสเปนชื่อ Gonzalo Jimenez de Quesada เมื่อปี1537่เครื่องหอมจากเตาไฟ
   เรื่องพิธีกรรมการชุบตัวด้วยผงทองคำของหัวหน้าเผ่าหรือราชาผู้นำนี้ถูกพบอยู่ในหนังสือบันทึกการเดินทาง Jaun Rodrigues Freyle  อันเป็นฉบับดั้งเดิมและบันทึกไว้ด้วยภาษา El Carnero ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น  ในบันทึกนั้นระบุไว้ว่าเจ้าผู้เป็นผู้นำหรือราชาของกลุ่มชนพื้นเมืองมัสคาจะบริกรรมคาถาไปพร้อมๆกับการชุบตัวด้วยผงทองคำระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาณ.ทะเลสาบกัวตาฝิต้า(Guatavita) — ใกล้ๆกับเมืองโบโกต้า(Bogota)ของโคลัมเบียในปัจจุบัน
    ในปี1638 Juan Rodrigues Troxell ก็ได้เขียนถึงเรื่องนี้เช่นกันและได้เพิ่มเติมเรื่องราวของหัวหน้าเผ่าอินเดียน(Cacique –คาซีค) หรืออีกนัยะหนึ่งคือผู้นำแห่งลุ่มน้ำกัวตาฝิต้า ไว้ว่า: 
    " พิธีกรรมถูกกำหนดขึ้นในวันที่เป็นวันแต่งตั้งผู้นำคนใหม่  ก่อนถึงวันทำพิธีเขาจะใช้เวลาส่วนมากอยู่อย่างสันโดษภายในถ้ำ  โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิง  ไม่ยอมกินแม้แต่เกลือหรือออกมานอกถ้ำในเวลากลางวัน ….. ในระหว่างพิธีกรรมซึ่งถูกจัดขึ้นณ.เวิ้งน้ำ  พวกเขาจัดทำแพแบบง่ายๆขึ้นมาลำหนึ่งพร้อมทั้งประดับประดาและตกแต่งอย่างสวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้ …. ทันทีทีเครื่องหอมจากเตาไฟซึ่งอยู่บนแพเริ่มส่งกลิ่น  พวกเขาก็จะก่อไฟในภาชนะทองเหลืองซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งขึ้นด้วย  จนควันคลุ้งไปทั่วทั้งบาง   เมื่อถึงเวลานั้นพวกเขาก็ถอดเอาเครื่องแต่งกายของผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำออกจนเหลือแต่กายเปล่าเปลือย  และจัดการชะโลมดินเหนียวทับลงบนผงทองคำซึ่งติดอยู่ตามตัวเขา  จากนั้นก็นำตัวเขาลงบนแพพร้อมกับทองคำกองใหญ่และมรกต  เพื่อให้เขาได้บวงสรวงเทพเจ้า  ในแพนั้นยังมีเครื่องประกอบที่สำคัญของผู้นำอีกสี่ชิ้นคือ เครื่องแต่งกายซึ่งทำมาจากขนนก , มงกุฎ , เครื่องประดับอันประกอบด้วยกำไลมือ,จี้ห้อยคอ,และต่างหูซึ่งล้วนแต่ทำมาจากทองคำ  พวกบริวารที่ติดตามไปด้วยต่างก็อยู่ในสภาพเปลือยกายและถือของบูชาของตัวเอง ….. เมื่อแพลอยมาถึงเวิ้งกลางทะเลสาบพวกเขาก็ชักธงตราสัญลักษณ์ขึ้นอย่างเงียบๆ  แล้วชนเผ่าอินเดียนผู้มั่งคั่งไปด้วยทองคำก็เริ่มพิธี ….. โยนทองคำลงกลางทะเลสาบ ….. หลังจากนั้นพวกเขาก็ลดธงลงและคงสภาพไว้จนทำพิธีเสร็จและนำแพกลับเข้าฝั่ง   เมื่อนั้นเสียงโห่ร้องก็ดังกึกก้องขึ้นอีกคำรบหนึ่งพร้อมๆกับเสียงปี่เสียงขลุ่ยและเสียงร้องจากนักร้องกลุ่มใหญ่พร้อมกับผู้ที่ออกมาร่ายรำ  อันเป็นการตอบรับพิธีสถาปนาผู้นำคนใหม่และถือเป็นการให้เกียรติดุจเดียวกับพระอนุชาและองค์จักรพรรดิ "
      พิธีการนี้เชื่อกันว่ามีขึ้นอย่างแพร่หลายตามแนวทะเลสาบของเมืองมัสคา                                         ในเวลาไม่นานมัสคาและทรัพย์สมบัติทั้งหลายก็ตกเป็นของนักรบชาวสเปนและถูกกวาดต้อนไปไว้ยังที่แห่งใหม่ตามแนวชายแดน  ตามความเชื่อของชาวสเปน — แมัว่าทองคำจำนวนมากยังอยู่ในความดูแลของชนเผ่าอินเดียนแต่ก็ไม่พบถ้ำทองคำหรือแม้แต่เหมืองอันเหลืองอร่ามอีกเลยนับแต่ชาวมัสคาเริ่มทำการค้าทองคำที่มี
    เรื่องราวของ El Dorado ถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยตามยุคตามสมัย  จนกระทั่งครั้งสุดท้ายมันกลายเป็นเรื่องราวของความลึกลับผสานเข้ากับเมืองในตำนาน  อันเป็นผลให้นักสำรวจชาวยุโรปผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาสำรวจเมื่อหลายศตวรรษก่อน  และจากหลักฐานต่างๆซึ่งมีแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ทองคำ(Gold Museum)ในเมืองโบโกต้าประเทศโคลัมเบีย  คงจะช่วยเพิ่มน้ำหนักจากนิยายปรัมปราให้มีความเป็นจริงมากขึ้นเยอะทีเดียว .   


ที่มา:http://historyhits.wordpress.com/2009/04/23/el-dorado-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3/

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites